CEFR น่าเชื่อถือ ไหม ?

CEFR ถือเป็นกรอบที่มีความน่าเชื่อถือสูง เนื่องจากพัฒนาจากการวิจัยและประสบการณ์จริงในการสอนภาษา โดยมีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของผู้เรียนและการเปลี่ยนแปลงในสังคม นอกจากนี้ CEFR ยังได้รับการรับรองจากองค์กรการศึกษาและสถาบันที่มีชื่อเสียงหลายแห่งทั่วโลก

ทำไม ? การสอบวัดระดับตามกรอบมาตรฐาน CEFR จึงเริ่มมีบทบาทสำคัญต่อน้อง ๆ ประถมและมัธยม

ในยุคโลกาภิวัตน์ภาษาอังกฤษกลายเป็นทักษะที่สำคัญมาก ไม่ใช่เพียงแค่ทางการศึกษาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันด้วย และเพื่อยกระดับภาษาอังกฤษของประชากรไทยในอนาคตเมื่อ 14 มกราคม 2557 กระทรวงการศึกษาธิการจึงมี นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษขึ้นมา เพื่อสร้างมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยให้เทียบเคียงกับระดับสากล พร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเตรียมความพร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 โดยได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการปฏิรูปการเรียนการสอนไว้โดยสรุป ดังนี้
  1. ใช้กรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล ได้แก่ The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) เป็นกรอบความคิดหลักในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของประเทศไทย ทั้งในการออกแบบหลักสูตรและ การพัฒนาการเรียนการสอน การทดสอบ การวัดผล การพัฒนาครู รวมถึงการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้
  2. ปรับจุดเน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เป็นไปตามธรรมชาติการเรียนรู้ภาษา โดยเน้นการสื่อสาร (Communicative Language Teaching: CLT) ปรับการเรียนการสอนจากที่เน้นไวยากรณ์มาเป็นเน้นการสื่อสาร ซึ่งมาจากหลักการที่นึกถึงธรรมชาติของการเรียนรู้ภาษา กระบวนการเรียนการสอนจึงควรมีลักษณะเป็นการเรียนรู้ตามธรรมชาติที่ใกล้เคียงกับการเรียนรู้ภาษาแรก
  3. ส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มีมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานหลัก จัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานแต่สามารถใช้รูปแบบวิธีที่แตกต่างกันได้ โดยคำนึงถึงความพร้อมของแต่ละสถานศึกษา
  4. ส่งเสริมการยกระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ จัดให้มีโครงการห้องเรียนและรายวิชาที่เน้นการจัดให้ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาเรียนรู้ และใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้นอย่างเข้มข้นอันได้แก่ การขยายและพัฒนาห้องเรียนโครงการพิเศษ เช่น EP IP MEP เป็นต้น จัดให้มีการเรียนการสอนวิชาสนทนาภาษาอังกฤษทั้งแบบทั่วไป และแบบเข้มข้น
  5. ยกระดับความสามารถในการจัดการเรียนการสอนของครูให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ที่เน้นการสื่อสาร (CLT) และเป็นไปตามกรอบความคิดหลัก CEFR ครูเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาความสารถในการใช้ภาษาอังกฤษของผู้เรียน ครูที่มีความสามารถ มีมาตรฐานและมีการใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างเป็นธรรมชาติเสมือนเจ้าของภาษา ย่อมจะเป็นต้นแบบที่ดีให้กับผู้เรียน ดังนั้นการพัฒนาครูจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
  6. ส่งเสริมให้มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยพัฒนาความสามารถของครูและผู้เรียน เชื่อว่าสื่อที่ดีจะสามารถนำมาใช้ทดแทนครูได้ โดยเฉพาะในส่วนของการฝึกฝนเกี่ยวกับการออกเสียง การฟังและการพูดซึ่งครูบางส่วนยังขาดความพร้อมและความมั่นใจ อีกทั้งสื่อยังสามารถใช้ได้ในทุกที่ ทุกเวลา ทำให้ผู้เรียนสามารถฝึกฝนได้ซ้ำ ๆ อย่างไม่มีข้อจำกัด

โดยกระทรวงการศึกษาธิการได้ตั้งความคาดหวังไว้ดังนี้

  • ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา (ป.6) ควรมีความสามารถระดับ A1
  • ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา (ม.3) ควรมีความสามารถระดับ A2
  • ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา (ม.6) ควรมีความสามารถระดับ B1
จาก พ.ศ.2557 จวบจนปัจจุบันผ่านมาแล้วกว่าสิบปีที่นโยบายดังกล่าวได้ประกาศออกมา แต่กลับมีแค่โรงเรียนบางแห่งเท่านั้นที่เริ่มดำเนินการตามนโยบาย เนื่องจากโรงเรียนสอนภาษา Engenius English สนับสนุน และพัฒนาด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอยู่เสมอ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของนโยบายนี้ จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา ยกระดับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามนโยบายข้างต้น ดร.เหมือนฝัน โกรัตนะ (ผู้บริหารโรงเรียนสอนภาษา Engenius English) จึงได้เริ่มพัฒนาชุดข้อสอบที่เหมาะกับผู้เรียนระดับประถม และมัธยม จนเกิดเป็นแบบทดสอบวัดระดับตามกรอบมาตรฐาน CEFR (Engenius ELT Junior และ Engenius ELT) ขึ้นมา และเริ่มดำเนินการจัดสอบตามโรงเรียนไปแล้วมากกว่า 50 แห่งทั่วประเทศ

Share this post