ในยุคโลกาภิวัตน์ภาษาอังกฤษกลายเป็นทักษะที่สำคัญมาก ไม่ใช่เพียงแค่ทางการศึกษาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันด้วย และเพื่อยกระดับภาษาอังกฤษของประชากรไทยในอนาคตเมื่อ 14 มกราคม 2557 กระทรวงการศึกษาธิการจึงมี นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษขึ้นมา เพื่อสร้างมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยให้เทียบเคียงกับระดับสากล พร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเตรียมความพร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 และ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 ได้มีประกาศจากคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2567 ออกมาโดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้สถาบันอุดมศึกษากำหนดนโยบายและเป้าหมายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษของนิสิตนักศึกษาให้บัณฑิตที่มีความพร้อมทั้งทางด้านวิชาการ วิชาชีพ และทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในระดับที่ใช้งานได้ ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษโดยมุ่งผลตามเป้าหมาย พร้อมจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร จัดสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนในรายวิชาอื่น ๆ ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษ และเพิ่มสื่อการเรียนรู้ที่นิสิตและนักศึกษาเข้าถึงได้โดยเป็นได้ทั้งรูปแบบเอกสารและรูปแบบสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ สุดท้ายให้พิจารณาจัดให้นิสิตนักศึกษาทุกคน ดำเนินการสอบวัดระดับความรู้และทักษะภาษาอังกฤษก่อนสำเร็จการศึกษา ตามแบบทดสอบที่สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาขึ้น หรือแบบทดสอบตามมาตรฐานสากลอื่น ๆ โดยเทียบเคียงผลกับ The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) และให้นำบันทึกในใบรับรองผลการศึกษา หรือจัดทำเป็นประกาศนียบัตร ซึ่งก่อนจะจบการศึกษา อนุปริญญา ควรมีทักษะภาษาอังกฤษในระดับ B1 ขึ้นไป ปริญญาตรี ควรมีทักษะภาษาอังกฤษระดับ B2 ขึ้นไป บัณฑิตศึกษา ควรมีทักษะภาษาอังกฤษระดับ C1 ขึ้นไป
ทำไม ? การสอบวัดระดับตามกรอบมาตรฐาน CEFR จึงเริ่มมีบทบาทสำคัญในวงการการศึกษาของไทย
17Jan